ข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก เมื่อจุลศักราช 1209 (พุทธศักราช 2390) ได้มีพระภิกษุเป็นผู้นำชาวบ้านจากบ้านหัวช้าง เมืองปาน(ปัจจุบัน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง) มาตั้งหมู่บ้านในบริเวณที่ราบเชิงเขา รวม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่สุก บ้านแม่จว้า บ้านแม่จว้าใต้ รวมกันเป็นหนึ่งตำบล
พื้ประวัติบ้านแม่จว้า เริ่มจากนายก๋องคำและนางยุ กิ่งแก้ว สองสามีภรรยามาจากบ้านม่วงบ้านขอ จังหวัดลำปาง ซึ่งมีอาชีพค้าขายวัว ได้อพยพครอบครัวเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ณ. ที่แห่งนี้โดยไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่ชัด

ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก ตั้งอยู่ เลขที่ 289 หมู่ที่ 10 บ้านแม่สุกน้ำล้อม ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพะเยาไปทางทิศเหนือ ระยะทาง ประมาณ 22 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 41.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 22,625 ไร่ ไร่ มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม โดยทั่วไปมีเทือกเขาเป็นแนวยาวจากทิศเหนือลงไปทางทิศใต้ ทำให้มีพื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา มีลำน้ำแม่สุกและลำน้ำแม่จว้าไหลผ่าน

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลศรีถ้อย ตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลแม่ปืม อำเภอเมืองพะเยา
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลทุ่งฮั้ว อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

เขตการปกครอง จำนวนหมู่บ้านในเขตการปกครอง จำนวน 10 หมู่ ได้แก่
หมู่ 1 บ้านแม่สุกเหนือ
หมู่ 2 บ้านแม่สุก
หมู่ 3 บ้านแม่จว้าเหนือ
หมู่ 4 บ้านแม่จว้ากลาง
หมู่ 5 บ้านแม่จว้าใต้
หมู่ 6 บ้านแม่สุกกลาง
หมู่ 7 บ้านแม่จว้าปันเจิง
หมู่ 8 บ้านแม่จว้า
หมู่ 9 บ้านแม่สุกดอย
หมู่ 10 บ้านแม่สุกน้ำล้อม

จำนวนครัวเรือนและประชากรในเขตตำบลแม่สุก 10 หมู่บ้าน ดังนี้
จำนวนหลังคาเรือน : 2,444 หลังคาเรือน
มีจำนวนประชากรทั้งหมด 5,458 คน
ชาย 2,697 คน
หญิง 2,761 คน

แยกเป็นหมู่บ้านดังนี้

ชื่อบ้าน หมู่ที่ ผู้ใหญ่บ้าน จำนวนประชากร
บ้านแม่สุกเหนือ 1 นายจันทร์ทอง อุตตะมาลัง 406
บ้านแม่สุก 2 นายอดุลย์ พินิจสุวรรณ 412
บ้านแม่จว้าเหนือ 3 นายอินหวัน ติ๊บบุญเรือง 702
บ้านแม่จว้ากลาง 4 นายสันติ สังวร 520
บ้านแม่จว้าใต้ 5 นายประหยัด สุขศรีราษฎร์ 601
บ้านแม่สุกกลาง 6 นายสัมพันธ์ ใจติ๊บ 507
บ้านแม่จว้าปันเจิง 7 นายประหยัด ถุงออน 710
บ้านแม่จว้า 8 นายศรีกอน ศรีวิชัย 690
บ้านแม่สุกดอย 9 นายนพพล แสนหลวง 472
บ้านแม่สุกน้ำล้อม 10 นายสมชาย พินิจสุวรรณ 438

สภาพทางเศรษฐกิจ
– อาชีพทำการเกษตร ทำสวน และรับจ้างทั่วไป
– หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
1. กองทุนหมู่บ้าน 8 กองทุน
2. โรงสีข้าว 21 แห่ง
3. สุรากลั่นชุมชน 2 แห่ง
4. ตลาดสด 2 แห่ง

สภาพสังคม
1) การศึกษา
– โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
– โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
2) สถาบันและองค์กรทางศาสนา
– วัด 4 แห่ง
3) การสาธารณสุข
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สุก 1 แห่ง ตั้งอยู่ หมู่ 8 บ้านแม่จว้า ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัด พะเยา
– อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
4) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
– จุดหน่วยบริการประชาชน (ตู้ยามตำรวจ) จำนวน 1 แห่ง
5) การไฟฟ้า
– มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน
6) แหล่งน้ำ
– ลำน้ำ 15 สาย
– หนอง และอื่น ๆ 3 แห่ง
7) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
– อ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง
– ฝายน้ำล้น 37 แห่ง
– บ่อน้ำตื้น 324 แห่ง
– บ่อบาดาล 3 แห่ง
– ประปาส่วนภูมิภาค 10 หมู่บ้าน
– ถังเก็บน้ำฝน 13 แห่ง

ข้อมูลอื่นๆ
1) ทรัพยากรในพื้นที่
– มีตำบลแม่สุกมีหมู่บ้านที่อยู่ติดกับป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1บ้านแม่สุกเหนือ
มวลชนจัดตั้ง
– ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น 798 คน
– อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 3 รุ่น 108 คน
ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น
– กลุ่มเกษตรกร จำนวน – กลุ่ม
– กลุ่มอาชีพ จำนวน 51 กลุ่ม
– กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 10 กลุ่ม

วิสัยทัศน์การพัฒนา

สภาพแวดล้อมสมบูรณ์ เพิ่มพูนรายได้ ใส่ใจสุขภาพถ้วนหน้า
การศึกษาดีมีคุณธรรม วัฒนธรรมประเพณีลํ่าค่า สู่การพึ่งพาตนเองอย่างยังยื่น

คำขวัญตำบลแม่สุก

พระธาตุคู่ดูสง่า น้ำแม่สุกงามตา
สำเนียงภาษาบอกถื่น หมู่บ้าน”แม่” คู่แผ่นดิน
ลิ้นจี่ดีมีมากมาย หลากหลายผลิตภัณฑ์

บริบท

๑) เนื่องจากสภาพพื้นที่ตําบลแม่สุกเป็นเขตติดต่อจังหวัดเชียงราย มี เส้นทางการคมนาคมสะดวกการติดต่อค้าขายทําให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาอย่างรวดเร็ว
๒) ราษฎรส่วนใหญ่อาชีพทําการเกษตรทํานาและทําสวนลินจี่ บางปี แห้งแล้งผลผลิตการเกษตรตกตําทําให้เกิดปัญหาหนีสิน
๓) ค่านิยมคนในชุมชนเปลี่ยนไป ครอบครัวส่วนใหญ่ให้ลูกเรียนหนังสือในเมือง ทําให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวและ สังคมขาดหายไป

กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก

กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาระบบเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
๑) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน
๒) พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำ เพื่อประชาชน
๓) พัฒนา สนับสนุน และบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
๔) พัฒนาองค์ความรู้ ระบบการผลิตแบบครบวงจร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรและเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพ รวมทั้งด้านการตลาดอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาสังคม การศึกษา วัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนา
๑) ส่งเสริมการสร้างอาชีพ และการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒) การส่งเสริมอนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓) ส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ เพื่อพัฒนาคนในชุมชนและท้องถิ่น
๔) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
๕) ส่งเสริมและสนับสนุนระบบการจัดสวัสดิการประชาชน กลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคง
๖) ส่งเสริมบุคลากรภาครัฐ ประชาชน ให้มีทักษะชีวิต ภายใต้การอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
๑) อนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
๒) พัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
๓) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ อปท.เพื่อการสนับสนุนการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ รักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย
แนวทางการพัฒนา
๑) ปกป้อง และเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ
๒) ป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในและตามแนวชายแดน
๓) เสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรประชาชนและพัฒนาศักยภาพด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๔) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
แนวทางการพัฒนา
๑) บริหารจัดการองค์กร ตามหลักธรรมาภิบาล
๒) ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเวทีเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชารัฐ
๓) พัฒนาสมรรถนะขององค์กร และบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ
๔) ส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการ การทำงานและพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น

๑) นโยบายด้านการเมืองและการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
๒) นโยบายด้านการพัฒนาสังคม และการเสริมสร้างพลังชุมชน
๓) นโยบายการพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
๔) นโยบายการพัฒนาสาธารณสุขและส่งเสริมคุณภาพชีวิต
๕) นโยบายการจัดการภัยพิบัติและการจัดระเบียบชุมชน
๖) นโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
๗) นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
๘) นโยบายการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน