สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา :
เมื่อจุลศักราชที่ 1209 (พุทธศักราช 2390) ได้มีพระภิกษุเป็นผู้นำชาวบ้านจากบ้านหัวช้าง เมืองปาน (ปัจจุบัน คืออำเภอเมืองปาน จ.ลำปาง) มาตั้งหมู่บ้านในบริเวณที่ราบเชิงเขา รวม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่สุก บ้านแม่จว้า บ้านแม่จว้าใต้ รวมเป็นหนึ่งตำบล
- ประวัติบ้านแม่จว้า เริ่มจากนายก๋องคำและนางยุ กิ่งแก้ว สองสามีภรรยามาจากบ้านม่วงบ้านของจังหวัดลำปาง ซึ่งมีอาชีพขายวัว ได้อพยพครอบครัวเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ณ ที่แห่งนี้โดยไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่ชัด
- ประวัติบ้านแม่จว้าใต้ ตั้งขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอน โดยมีชาวบ้านอพยพมาจากจังหวัดลำปาง เช่น บ้านไร่ข่วงเปา บ้านไร่หิน บ้านหนองหล่าย อำเภอเกาะคา โดยมีผู้เฒ่าแสนขัด เป็นผู้นำกลุ่มมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางใต้ของลำห้วยแม่จว้า
ที่มาของตำบลแม่สุก เนื่องจากบ้านแม่สุกได้จัดตั้งขึ้นก่อน ตามที่ได้ชื่อว่า “แม่สุก” คืออาณาเขตบริเวณหมู่บ้านมีไม้ชนิดหนึ่งขึ้นตามลำห้วยคือต้นสีสุก (อโศกอินเดียสีทอง) เวลาออกดอกจะทำให้หอมไปทั่วหมู่บ้าน ชาวบ้านเลยตั้งชื่อว่าบ้านสีสุก ต่อมาเลยเปลี่ยนเป็นบ้าน แม่สุก จนถึงทุกวันนี้
ที่ตั้ง :
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก ตั้งอยู่ เลขที่ 289 หมู่ที่ 10 บ้านแม่สุกน้ำล้อม ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพะเยาไปทางทิศเหนือ ระยะทาง ประมาณ 22 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 41.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 22,625 ไร่ ไร่ มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม โดยทั่วไปมีเทือกเขาเป็นแนวยาวจากทิศเหนือลงไปทางทิศใต้ ทำให้มีพื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา มีลำน้ำแม่สุกและลำน้ำแม่จว้าไหลผ่าน
อาณาเขต :
ทิศเหนือ | ติดกับ | ตำบลศรีถ้อย ตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ |
ทิศตะวันออก | ติดกับ | ตำบลแม่ปืม อำเภอเมืองพะเยา |
ทิศใต้ | ติดกับ | ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา |
ทิศตะวันตก | ติดกับ | ตำบลทุ่งฮั้ว อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง |
ลักษณะภูมิอากาศ :
ตำบลแม่สุกมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคมของทุกปี อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคมของทุกปี ฝนตกชุกหนาแน่นในเดือนเมษายน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี อากาศหนาวจัดในเดือนธันวาคม อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส
เขตการปกครอง :
ตำบลแม่สุกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 บ้านแม่สุกเหนือ
หมู่ 2 บ้านแม่สุก
หมู่ 3 บ้านแม่จว้าเหนือ
หมู่ 4 บ้านแม่จว้ากลาง
หมู่ 5 บ้านแม่จว้าใต้
หมู่ 6 บ้านแม่สุกกลาง
หมู่ 7 บ้านแม่จว้าปันเจิง
หมู่ 8 บ้านแม่จว้า
หมู่ 9 บ้านแม่สุกดอย
หมู่ 10 บ้านแม่สุกน้ำล้อม
จำนวนครัวเรือนและประชากรในเขตตำบลแม่สุก 10 หมู่บ้าน ดังนี้
จำนวนหลังคาเรือน : 2,444 หลังคาเรือน
มีจำนวนประชากรทั้งหมด 5,458 คน
ชาย 2,697 คน
หญิง 2,761 คน
แยกเป็นหมู่บ้านดังนี้
ชื่อบ้าน | หมู่ที่ | ผู้ใหญ่บ้าน | จำนวนประชากร |
บ้านแม่สุกเหนือ | 1 | นายจันทร์ทอง อุตตะมาลัง | 406 |
บ้านแม่สุก | 2 | นายอดุลย์ พินิจสุวรรณ | 412 |
บ้านแม่จว้าเหนือ | 3 | นายอินหวัน ติ๊บบุญเรือง | 702 |
บ้านแม่จว้ากลาง | 4 | นายสันติ สังวร | 520 |
บ้านแม่จว้าใต้ | 5 | นายประหยัด สุขศรีราษฎร์ | 601 |
บ้านแม่สุกกลาง | 6 | นายสัมพันธ์ ใจติ๊บ | 507 |
บ้านแม่จว้าปันเจิง | 7 | นายประหยัด ถุงออน | 710 |
บ้านแม่จว้า | 8 | นายศรีกอน ศรีวิชัย | 690 |
บ้านแม่สุกดอย | 9 | นายนพพล แสนหลวง | 472 |
บ้านแม่สุกน้ำล้อม | 10 | นายสมชาย พินิจสุวรรณ | 438 |
สภาพทางเศรษฐกิจ :
– อาชีพทำการเกษตร ทำสวน และรับจ้างทั่วไป
– หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
1. กองทุนหมู่บ้าน 8 กองทุน
2. โรงสีข้าว 21 แห่ง
3. สุรากลั่นชุมชน 2 แห่ง
4. ตลาดสด 2 แห่ง
สภาพทางสังคม :
1) การศึกษา
โรงเรียนชุมชนบ้านแม่สุก
โรงเรียนบ้านแม่จว้า
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.แม่สุก
2) สถาบันและองค์กรทางศาสนา
มีวัดในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง ดังนี้
วัดแม่จว้าปันเจิง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านแม่จว้าปันเจิง
วัดตาลถ้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านแม่จว้าเหนือ
วัดแม่สุกดอย ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 9 บ้านแม่สุกดอย
วัดแม่สุก ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านแม่สุกน้ำล้อม
3) ด้านสาธารณสุข
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สุก 1 แห่ง ตั้งอยู่ หมู่ 8 บ้านแม่จว้า ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัด พะเยา
– อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
4) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
– จุดหน่วยบริการประชาชน (ตู้ยามตำรวจ) จำนวน 1 แห่ง
5) การไฟฟ้า
– มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน
6) แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ
– ลำห้วย จำนวน 15 สาย
– หนองน้ำ,สระ จำนวน 3 แห่ง
7) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
– อ่างเก็บน้ำ จำนวน 4 แห่ง (อ่างเก็บน้ำแม่สุก,อ่างเก็บน้ำแม่จว้า,อ่างเก็บน้ำเหล่าโฮ้ง,อ่างเก็บน้ำห้วยจุมปู)
– ฝายน้ำล้น จำนวน 37 แห่ง
– บ่อน้ำตื้น จำนวน 324 แห่ง (10 หมู่บ้าน)
– บ่อบาดาล จำนวน 3 แห่ง
– ประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 10 หมู่บ้าน
– ถังเก็บน้ำฝน จำนวน 13 แห่ง
8) ระบบเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพของประชาชน ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ทำนา ทำสวน ผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำประหลัง และผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ ลิ้นจี่ ลำไย แตงโม แคนตาลูป สำหรับอาชีพอื่นๆ ได้แก่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และรับราชการ
ข้อมูลอื่นๆ
1) ทรัพยากรในพื้นที่
– มีตำบลแม่สุกมีหมู่บ้านที่อยู่ติดกับป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1บ้านแม่สุกเหนือ
มวลชนจัดตั้ง
– ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น 798 คน
– อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 3 รุ่น 108 คน
ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น
– กลุ่มเกษตรกร จำนวน – กลุ่ม
– กลุ่มอาชีพ จำนวน 51 กลุ่ม
– กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 10 กลุ่ม
จุดเด่นที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบลแม่สุก
พื้นที่ตำบลแม่สุก มีการคมนาคมขนส่งทางบก ที่สะดวก รวดเร็ว มีถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผนดิน หมายเลข 1 นครสวรรค์-เชียงราย ผ่านระหว่างตำบลตลอดแนว มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดเชียงราย และมีโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ พระธาตุแม่สุก น้ำตกแม่สุก ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรมได้ ประชากรในพื้นที่ตำบลแม่สุก ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด จึงบ่งบอกถึงความรักความสามัคคีและสามารถรวมพลังได้เป็นอย่างดี