ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลแม่สุก
ภูมิปัญญา คือแบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคมซึ่งได้
สั่งสมปฏิบัติสืบต่อกันมา การสานไหข้าวหรือหวดนึ่งข้าว เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาลำไม้ไผ่แปรสภาพ ให้
เป็นภาชนะสานสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง มีรูปทรงกระบอก นิยมใช้กันในผู้ที่บริโภคข้าวเหนียวในภาคเหนือ และอีสานโดยทั่วไปภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะไม้ไผ่เป็นพืช
ธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำไม้ไผ่มาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน
หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้ไม้ไผ่ถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีตด้วยเทคนิคการสานจากภูมิปัญญาไทยนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับ และยังคงอยู่ตลอดมา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในการสร้างงานของคนในชุมชนตำบลแม่สุกอีกด้วย
ไหนึ่งข้าว
หลักๆคือการใช้ลำต้นของต้นไผ่ ใช้ลำต้นที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป เลื่อยลำต้นให้เป็นปล้อง
ผ้าไม้ไผ่เป็นซีกๆ ความกว้างแล้วแต่ขนาดของหวด เหลาซีกไม้ไผ่เพื่อลบคมของซักไม้ตรงกลางออก
จักตอก คือ การเอาส่วนที่เป็นเนื้อไม้และเปลือกไม้ไผ่แยกออกจากกันซีกหนึ่ง จะจักเป็นเส้นตอกได้ประมาณ 8-10 เส้น
นำเส้นตอกที่จัดเสร็จไปผึ่งแดดให้แห้ง จะทำให้ราไม่ขึ้น การผึ่งแดดใช้เวลา 2-3 วัน ให้สังเกตที่สีของเส้นตอก ถ้าเป็นสีน้ำตาลก็ถือว่าใช้ได้
สานจากไม้ไผ่สองถึงสามชั้น ด้านบนกว้างกว่าด้านล่าง มีขอบไม้ไผ่โดยรอบเพื่อทำให้แข็งแรง ไม่ขาดง่าย ส่วนล่างที่เล็กกว่าจะมีวงรัศมีน้อยกว่าปากหม้อ มีแผ่นลิ้นสานด้วยไม่ไผ่ลายขัดรอง เพื่อกันไม่ให้ข้าวเหนียวร่วงลงน้ำ และจะมีรูจากการสานที่ไอน้ำสามารถลอดผ่านขึ้นมาให้ข้าวเหนียวสุกได้โดยทั่วถึง สามารถเปลี่ยนแผ่นลิ้นได้ถ้าขาดหรือชำรุด ไหข้าวจึงใช้งานได้นาน